วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความจริงของชีวิต




การมองความจริงของชีวิตด้วยหลักศาสนธรรม
4.1 แนวความคิด
1. ชีวิตตามหลักพุทธธรรมดำ เนินไปตามเหตุปัจจัย มีสุขมีทุกข์คลุกเคล้ากันไปแต่ก็ให้มี
สติสัมปชัญญะตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเมื่อเผชิญความทุกข์ก็พิจารณาแก้ไขไปตามเหตุ ตามปัจจัย
เมื่อมีความสุขก็ไม่หลงมัวเมาเพราะเมื่อความสุขเปลี่ยนไปความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นมาอีก
2. ชีวิตในทัศนะคริสต์ถือว่า เป็นสิ่งที่ถูกสร้างจากพระเจ้า เมื่อมนุษย์ใช้เสรีภาพเลือกตัดสินใจ
กระทำ บาป พระเจ้าก็ยังทรงเมตตาส่งพระบุตรเข้ามาไถ่บาปให้แก่มนุษย์ ดังนั้น มนุษย์ผู้ตกอยู่ในบาป
จะต้องสำ นึกในพระคุณของพระองค์ ต้องสำ นึกผิดถึงสิ่งที่ตัวเองได้กระทำ ไป เพื่อจะได้รับการช่วยให้
รอดเข้าสู่อาณาจักรแห่งสวรรค์ของพระองค์
3. ชีวิตในทัศนะอิสลามก็เกิดมาจากพระเจ้าเป็นผู้สร้าง มี่ร่างกายและจิตใจ แต่โลกในปัจจุบัน
(ดุนยา) เป็นมายาไม่จีรังยั่งยืน มนุษย์ที่มีจิตใจอ่อนแอที่เลือกกระทำ ผิด และผู้ปฏิบัติดีมีจิตใจเข้มแข็งยึด
มั่นในพระองค์ต่างก็จะได้รับผลตอบแทนในวันสิ้นโลก
4. ชีวิตในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ชีวิตของมนุษย์เกิดจากพรหมมันหรือปรมาตมัน
ซึ่งเป็นวิญญาณสากล อวิชชาทำ ให้มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงสัจธรรมซึ่งเป็นแก่นแท้ของชีวิต จึงเวียนว่าย
ตามเกิดในสังสารวัฏจนกว่าจะทำ ลายอวิชชาอันเป็นรากเหง้าของความชั่วทั้งหลายลงได้
5. ชีวิตในลัทธิเต๋า และ ขงจื๊อ เกิดมาจากธรรมชาติ คือพลังของความเป็นคู่คือ พลังหยาง และหยิน ขงจื๊อ
เน้นการประพฤติปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัว และสังคมตามจารีตประเพณีที่สืบเนื่องกันมา
ตั้งแต่โบราณ ส่วนเล่าจื๊อในลัทธิเต๋าจะเน้นให้ชีวิตมีความสงบสุข โดยปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรม
ชาติที่ยิ่งใหญ่คือเต๋า
4.2 วัตถุประสงค์
1. อธิบายถึงเหตุปัจจัยที่ทำ ให้เกิดความทุกข์และวิธีการดับทุกข์ในพระพุทธศาสนาได้
2. อธิบายความเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันในหลักปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธศาสนาได้
3. อธิบายกรรมและผลแห่งกรรมตามกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาได้
4. อธิบายวิธีการมองความจริงของชีวิตตามหลักธรรมในศาสนาคริสต์ อิสลาม พรหมณ – ฮินดู และลัทธิ
อื่นๆ ได้


การมองความจริงของชีวิตด้วยหลักศาสนาพุทธ
ชีวิตมนุษย์ต่างดิ้นรนไปตามแรงผลักดันของกิเลสและตัณหา เมื่อตัวเองประสบกับความผิด
พลาดไม่สมหวังก็เกิดความทุกข์ เมื่อประสบความสำ เร็จสมหวังก็มีความสุขตั้งอยู่ในความประมาท
ขาดความรอบคอบ พอความสุขเปลี่ยนแปลงไปก็เกิดความทุกข์ขึ้นมาอีก หลักพุทธธรรมเป็นหลัก
ธรรมที่ช่วยให้เราได้มองชีวิตและเข้าใจชีวิตอย่างรู้เท่าทันตามสภาพความเป็นจริง เข้าใจชีวิตอย่างมี
สติสัมปชัญญะใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาที่ตัวเองกำ ลังเผชิญอย่างมีเหตุผล
สัมพันธภาพระหว่างเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ความสุข และขบวนการแก้ไขปัญหาชีวิต(อริยสัจ 4 )
ความจริงของชีวิตตามแนวอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นความทุกข์และ
วิธีการแก้ไขปัญหาความทุกข์ที่มีเหตุผลอย่างชัดเจน อริยสัจ 4 ได้แก่
1) ทุกขสัจ (Suffering)
2) ทุกขสมุทัยสัจ (The cause of suffering)
3) ทุกขนิโรธสัจ (The Cessation Suffering)
4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (The way to the cessation of suffering)

การมองความจริงของชีวิตด้วยหลักศาสนาคริสต์
คริสตศาสนาเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม คือเป็นศาสนานับถือพระเจ้าองค์เดียว
เรียกว่า พระยะโฮวา ดังนั้น หลักคำ สอนใด ในคริสตศาสนาไม่ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสรรพสิ่งและ
มนุษย์ก็จะโยงไปถึงพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าตามศาสนศาสตร์ว่าด้วยตรีเอกานุภาพ (Trinity)
หมายถึงพระเจ้าใน 3 ลักษณะ หรือ 3 บุคคล คือพระบิดา พระบุตร และพระจิตหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์
จากประวัติศาสตร์คริสตศาสนา ดังที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลเราทราบมาแล้วว่าพระเจ้า
ได้ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกคืออาดัม และอีฟ และให้อาศัยอยู่ในสวนเอเดนพร้อมทั้งสั่งไม่ให้เก็บผลไม้ต้อง
ห้ามที่มีอยู่ในสวนนั้น แต่บรรพบุรุษของมนุษย์มีสภาพจิตอ่อนแอทนต่อสิ่งยั่วยวนไม่ไหวจึงได้เก็บกิน
ผลไม้แห่งความสำ นึกดีและชั่วที่พระเจ้าได้ทรงห้ามไว้ จากการกินผลไม้ดังกล่าวทำ ให้มนุษย์มีกิเลส
ตัณหา มีความต้องการทางเพศ ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานซึ่งเป็นบาปกำ เนิดของมนุษยชาติ ดังโองการว่า
เพราะเหตุที่เจ้ากินผลไม้ที่เราห้ามแผ่นดินจึงต้องถูกสาปเพราะตัว
เจ้าจะต้องหากินบนแผ่นดินด้วยความทุกข์ลำ บากจนตลอดชีวิต


การมองความจริงของชีวิตด้วยศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประเภทเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ หลักยึดของ
ศาสนาประเภทเทวนิยมคือพระเจ้า ดังนั้น หลักการใดเกี่ยวกับมนุษย์ที่มีต่อตนเอง มีต่อเพื่อน มีต่อสังคม
และมีต่อโลกหน้าก็จะโยงสัมพันธ์กับพระเจ้าตลอดเวลา
พัฒนาการของชีวิตมนุษย์ตามหลักศาสนาอิสลามมี 4 ขั้น คือ ชีวิตในครรภ์ ชีวิต
ในโลกนี้ (ดุน ยา) ชีวิตในโลกบัรซัคหรือโลกหลังการตายก่อนฟื้นขึ้น และชีวิตในโลกหน้าหรือชีวิต
ในวันฟื้นขึ้น (กิยามะฮ)
ศาสนาอิสลามถือว่าทารกที่เกิดมาใหม่ นั้น เป็นมนุษย์ที่ลักษณะสากลร่วมกันประการ
หนึ่งคือ ความบริสุทธิ์เพราะพระเจ้าได้ยกโทษให้มนุษย์ก่อนแล้ว ก่อนที่มนุษย์จะมาเกิดในโลกนี้
ความบริสุทธิ์ ความรับผิดขอบและเจตจำ นงเสรี เป็นศักยภาพที่จะนำ มนุษย์สู่เป้าหมายสูงสุดเสมอกัน
คือ การมีชีวิตอยู่ในสวรรค์ บรรพบุรุษของมนุษย์คืออาดัม ได้รับการยกโทษจากพระองค์อัลลอฮดัง
โองการว่า ภายหลังอาดัมได้เรียนรู้คำ วิงวอนจากพระเจ้าของเรา แล้วพระองค์อภัยโทษแก่เขา แท้จริง
พระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ


มองความจริงของชีวิตด้วยหลักศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ของโลก ได้กล่าวถึงชีวิตในแง่มุมต่างๆ มากมาย
นับตั้งแต่กำเนิดของชีวิต จวบจนกระทั่งความสิ้นสุดของชีวิตอย่างสิ้นเชิง โดยให้ทัศนะเกี่ยวกับชีวิตตั้ง
แต่ระดับธรรมดาที่สุดจนกระทั่งเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ยากแก่ความเข้าใจ
ตามทัศนะของพระเวทซึ่งเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ ได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของชีวิตว่า
มาจากพระพรหม กล่าวคือพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกดังนั้น ชีวิตทุกชีวิตเป็นชิ้นส่วนของพระพรหม
เมื่อแยกตัวออกจากพระพรหมแล้วระเหเร่ร่อนไปในภพชาติต่าง กระทำ ดีบ้างชั่วบ้าง ต้องรับใช้กรรมดี
กรรมชั่วจนกว่าจะกลายเป็นผู้บริสุทธิ์หมดกรรมจึงจะกลับเข้าไปอยู่กับพระพรหมอีกคำ ว่า พรหม หากมองในแง่ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ ความเจริญเติบโตหรือการเกิดขึ้นของ
ชีวิตที่เป็นตัวตน เรียกว่า โกศะ ได้แก่ เปลือกที่ห่อหุ้มชีวิตไว้ประกอบด้วยเปลือกชั้นต่าง ดังนี้
(ทองหล่อ วงษ์ธรรมดา 2541 : 364)
1. อันนมยโกศะ ชั้นที่เรียกว่าเป็นร่างกายหรือวัตถุ
2. ปราณมยโกศะ ชั้นที่เป็นชีวิตหรือลมปราณ (ลมหายใจ)
3. มโนมยโกศะ ชั้นที่เป็นจิตหรือวิญญาณ
4. วิญญาณมยโกศะ ชั้นที่เป็นสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
5. อานันทมยโกศะ ชั้นนิรามิสสุข ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น